วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

ลงทุนจิงๆๆเลยนะ
นี่ก้อเช่นกันจร๊ะ เพื่อภาพสวยๆๆ

อันนี้ที่หัวหิน


สู้ตายคะ



เสียดายที่สุดเลยพวกป้าๆๆไม่ได้ไปด้วย




มีอีกนะจร๊ะ

วิวสวยๆๆจากหัวหิน
สู้ตาย!!!!คะ


อ่าวเป็นไรกันเนี่ยเรา



ยิ้มนะจร๊ะ





สวยเปล่า หอย ฝีมือนะเนี่ย

คุณครูพามาเที่ยวทะเลจ้า

ยิ้มให้เต็มที่ไปเลย จาได้กลับบ้านแล้ว
อะจร๊ะ คนละท่า คนละทาง


ดีใจสุดๆๆที่ได้มาเที่ยว (กว่าจะได้รูปนี้มาหอบรับประทานแล้ว)



ลงรถมาก้อเอาเลย ยิ้มจร๊ะทุกคน




อะจร๊ะ แก้มก้อมานะ ชุดกระโปรงบาน














วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการอ่านหนังสือ



1 ไม่อ่านทีละคำ
การอ่านทีละคำทำให้อ่านหนังสือได้ช้า เพราะมุ่งหาความหมายของคำทีละคำ สามารถแก้ไขได้โดยตั้งใจไว้ว่า เมื่ออ่านหนังสือทุกครั้ง จะจับใจความสำคัญของประโยคด้วยการใช้สายตาเพียงครั้งเดียว และได้ความหมายทันที



2 ไม่อ่านออกเสียง
การอ่านหนังสือออกเสียงไปทีละตัว โดยทั่วไปติดมาจากนิสัยการอ่านสมัยชั้นประถม การอ่านออกเสียงไม่ว่าจะมีเสียงออกมาหรือมีเสียงในคอ การอ่านแบบนี้อ่านได้ช้าทั้งสิ้นเพราะมุ่งแต่ออกเสียงตามตัวหนังสือที่ปรากฎ การอ่านได้เร็วสามารถแก้ไขได้โดยพยายามทำให้การมอง เห็นรูปทรง และการประสมคำของตัวหนังสือ สามารถผ่านขั้นตอนการรับรู้ของเราไปสู่สมองได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาพินิจพิเคราะห์ว่า มันมีเสียงอะไรการแก้ไขให้ใช้นิ้วปิดปากในขณะอ่านตลอดเวลาจะทำให้อ่านได้ดีขึ้น และเมื่อปฏิบัติเช่นนี้จนติดเป็นนิสัยแล้ว จะพบว่าทำให้อ่านได้รวดเร็วยิ่งขึ้น



3 ไม่มีกังวลเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ
การหยุดและกังวลเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจะทำให้จังหวะในการอ่านและแนวคิดในการอ่านประโยคนั้นหายไป ดังนั้นแม้ว่าจะไม่รู้ศัพท์บางคำก็สามารถหาความหมายของศัพท์นั้นได้ โดยดูจากข้อความในประโยค ถ้าใช้ความคิดคิดตามตลอดเรื่อง



4ไม่ใช้วิธีเดียวกันตลอดในการอ่านทุกประเภท
ควรใช้วิธีการอ่านที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่องที่อ่าน เช่น อ่านเรื่องเบาสมองก็อ่านเร็วได้ ถ้าอ่านตำราวิชาการต้องใช้ความคิดพิจารณาเนื้อเรื่องก็ใช้เวลาอ่านนานขึ้นนั้นคือผู้อ่านต้องรู้จุดประสงค์ของเรื่องที่จะอ่านด้วย จึงจะได้ประโยชน์ที่แท้จริง



5 ไม่ใช้นิ้วชี้ข้อความตามไปด้วยในขณะอ่าน
จะทำให้อ่านได้ช้าลง การใช้สายตากวาดไปตามบรรทัดจะเร็วกว่าการใช้นิ้วชี้เพราะสายตาเคลื่อนที่เร็วกว่านิ้ว วิธีแก้นิสัยนี้อาจทำได้โดยใช้มือจับหนังสือหรือประสานมือกันไว้ในขณะอ่านหนังสือ



6 ไม่อ่านซ้ำไปซ้ำมา
การอ่านเนื้อเรื่องที่ไม่เข้าใจ เป็นการชี้ให้เห็นว่าไม่มั่นใจที่จะดึงเอาความสำคัญของเนื้อความนั้นออกมาได้ด้วยความสามารถของตนเอง เหตุนี้จึงทำให้อ่านช้าลงเพราะคอยคิดแต่จะกลับไปอ่านใหม่ แทนที่จะอ่านไปทั้งหน้าเพื่อหาแนวคิดใหม่ จงพยายามอ่านครั้งเดียวอย่างตั้งใจความคิดทั้งหลายจะค่อย ๆ มาเอง ไม่ต้องกังวลว่าตนเองอ่านไม่รู้เรื่อง



7 มีสมาธิในการอ่าน
การปล่อยให้ความตั้งใจและความคงที่ของอารมณ์ล่องลอยไปกับความคิดที่สอดแทรกเข้ามาขณะอ่าน จะทำให้ไม่ได้รับความรู้อะไรจากการอ่านเลย จะต้องพัฒนาความสามารถ โดยฝึกจิตให้แน่วแน่มุ่งความสนใจอยู่ที่หนังสือเพียงอย่างเดียว

การเดินทางไปภูสวนทราย



เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดเลย และเดินทางจากจังหวัดเลยโดยใช้เส้นทางหมายเลข 203 ระยะทาง 68 กิโลเมตร ถึงทางแยกบ้านโคกงามเลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2031 ระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้าย เลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2113 ไปอีก 32 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแห้ว จากอำเภอนาแห้วเดินทางต่ออีก 4 กิโลเมตร ถึงบ้านเหมืองแพร่ เลี้ยวซ้ายตามเส้นทาง หมายเลข1268 ผ่านตำบลแสงภา และเลี้ยวขวาตามทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 1268 หลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาตินาแห้ว


เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ สู่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางจากอำเภอหล่มสัก ใช้เส้นทางหมาเลข 203 จนถึงบ้านโป่งชีเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข2014ถึงอำเภอด่านซ้ายเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข 2113 ไปอีก 32 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแห้ว จากอำเภอนาแห้วเดินทางต่ออีก 4 กิโลเมตร ถึงบ้านเหมืองแพร่ เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข 1268 ผ่านตำบลแสงภาและเลี้ยวขวาตามทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 1268 หลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาตินาแห้ว



เส้นทางที่ 3 จากจังหวัดพิษณุโลก-อำเภอชาติตระการ-บ้านบ่อภาค ถึงกิโลเมตรที่ 50 เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 1268 ผ่านบ้านร่มเกล้า ผ่านตำบลเหล่ากอหก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาตินาแห้ว


ส่วนเรื่องที่พักไม่ต้องเป็นห่วงนะจ๊ะสะดวกสบายหายห่วงเลยหละ

อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย



อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เดิมมีชื่อว่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาแห้ว ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 73,225 ไร่ หรือ 117.16 ตารางกิโลเมตร ด้วยสภาพขุนเขาที่สูงสลับซับซ้อนกันในพื้นที่ อำเภอนาแห้ว ประกอบกับเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ซึ่งมีที่ราบน้อย จุดที่สูงที่สุดประมาณ 1,408 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น ป่าผืนนี้เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ตามกฎกระทรวงที่ 1041 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 101 ตอนที่ 69 วันที่ 30 พฤษภาคม 2527 เป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย บ้านนาท่อน-บ้านบุ่ง (ลย.8) ตอนที่ 7 และ 8 ผ่านการคัดเลือกเพื่อให้ตัดฟันไม้ออกแล้ว แต่ราษฎรตำบลแสงภา ได้รวมตัวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2530-มกราคม 2531 คัดค้านมิให้ทำไม้ออกทางราชการได้พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วเห็นชอบตามราษฎรจึงระงับการทำไม้ไว้ก่อน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกการทำไม้ตามสัมปทานเสียทั้งหมด จึงเป็นการยุติการทำไม้ออกตามสัมปทานโดยสิ้นเชิง การจัดตั้งป่าผืนนี้ให้เป็นป่าอนุรักษ์ในรูปอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากกองอำนวยการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง อำเภอนาแห้ว ฝ่ายทหาร เริ่มแรกต้องการให้เป็นปอดของสมาชิกราษฎรอาสาป้องกันชายแดน แต่เมื่อตระหนักถึงประโยชน์ในการพักผ่อน ในลักษณะป่าเขาลำเนาไพรแล้ว เห็นว่าน่าจะอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรโดยทั่วกันอีกด้วย จึงตัดสินใจหาลู่ทางกำหนดให้ป่านาแห้วเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับเนื่องในโอกาสครบ 3 รอบ หรือ 36 พระชนมพรรษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมป่าไม้เห็นชอบด้วยเป็นอย่างยิ่ง และตอบสนองความต้องการอนุรักษ์ป่าผืนนี้อย่างจริงจัง การสำรวจเบื้องต้นบนส่วนหนึ่งของพื้นที่จึงเริ่มขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 52ก หน้า 54-56 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 79 ของประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาตินาแห้ว เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตามแนวชายแดนไทย-ลาว สันเขามีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีความลาดเท ตั้งแต่ 2 เปอร์เซ็นต์ จนถึงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ด้านตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ จะมีความลาดชันมาก พื้นที่ราบเชิงเขาเกือบจะไม่มี ด้านตะวันออกจะมีความลาดชันน้อย ลาดเทลงไปทางด้านตะวันออกมีที่ราบเชิงเขาอยู่บ้าง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 - 1,408 เมตร มีภูสันทรายเป็นยอดเขาสูงสุด เป็นแหล่งน้ำน้ำลำธารของแม่น้ำเหือง และ แม่น้ำแพร่ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น พืชพรรณและสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว ปกคลุมไปด้วยผืนป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดดังนี้ 1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจง หมูป่า หมี เสือโคร่ง หมาไน อีเห็น บ่าง กระรอก ในป่านี้มีสัตว์ชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “ตัวหอน” มีลักษณะคล้ายเม่นอยู่เป็นกลุ่มหากินกลางคืนอาศัยตามหลืบหิน โพรงหิน ไม่ขุดรูอยู่ด้วยตนเองเหมือนเม่น 2. นก ประกอบด้วย นกเหยี่ยว นกกระจิบ นกโพระดก นกกาเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า พญาลอไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทา นกกก นกแซงแซว เป็นต้น และมีนกชนิดหนึ่งเรียกว่า “นกกองกอด” ลักษณะเด่น คือ ที่ขามีเดือยมากกว่า 1 เดือย หางคล้ายนกยูง 3. สัตว์เลื้อยคลาน มี เต่าปูลู กิ้งก่า กะท่าง แย้ จิ้งเหลน ตะกวด แลน และงูชนิดต่างๆ ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ ประเภทงูมักพบในป่าเบญจพรรณ 4. ปลา พบในลำน้ำเหืองและแม้แต่ลำห้วยเล็กๆ ก็มีปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ในลำห้วย มีพวกปลาประเภทที่มีเกล็ด เช่น ตะเพียน ปลากะสูบ ปลาช่อน ปลาช่อนงูเห่า ปลาซิวและปลาขนาดเล็กอื่นๆ ปลาไม่มีเกล็ด คือ ปลาไหล ปลาหลด ไม่มีปลาขนาดใหญ่

คงอยากจะไปกันแล้วหละสิ !!! งั้นเดี๋ยวเราจะบอกเส้นทางให้นะจร๊ะ