วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

ภัยใกล้ตัว เมื่อยามที่คุณเข้าโรงหนัง

เพื่อนๆ คนไหนที่ไปดูภาพยนตร์บ่อยๆ คงทราบกันดีนะคะว่า ก่อนเราจะเข้าไปดูภาพยนตร์ ส่วนใหญ่เราก็จะซื้อน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ขายอยู่บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ติดไม้ติดมือเข้าไปด้วย เพื่อที่เวลาเราดูภาพยนตร์แล้วเราเกิดคอแห้งหิวน้ำเราจะได้ไม่ต้องเดินออกมาซื้ออีก
และเมื่อเราเข้าไปนั่งในโรงภาพยนตร์แล้ว เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เราก็จะต้องนำแก้วน้ำไปวางไปตรงที่วางแขนซึ่งจะมีที่สำหรับที่วางแก้วน้ำอยู่ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาใช่ไหมล่ะคะ ใครๆ ก็ทำแบบนี้กันทั้งนั้น ... แต่นั่นล่ะค่ะ เมื่อถึงเวลาที่โรงภาพยนตร์เริ่มปิดไฟให้มืดลงเมื่อไหร่ เมื่อนั้น เจ้ามิจฉาชีพทั้งหลายก็จะเริ่มปฏิบัติการ
โดยเทคนิคที่ใช้นั้นส่วนใหญ่จะใช้การวางยานอนหลับ โดยอาศัยช่วงที่ภาพยนตร์เริ่มฉายแล้วโรงภาพยนตร์จะปิดไฟมืด เจ้ามิจฉาชีพก็จะอาศัยช่วงนั้นหยอดยานอนหลับลงในแก้วน้ำของเรา หรือบางครั้งอาจจะใช้วิธีป้ายยานอนหลับไว้ที่หลอดดื่มน้ำของเรา ซึ่งระหว่างที่ปฏิบัติการนั้นเราอาจจะกำลังให้ความสนใจกับการดูภาพยนตร์ทำให้เราไม่ได้ระวังตัว
และแน่นอนเมื่อเราหยิบน้ำแก้วนั้นมาดื่ม เราก็จะได้รับพิษจากยานอนหลับไปเต็มๆ !!!


สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ชอบดูหนังคนเดียว เราขอแนะนำว่า


1. ก่อนเข้าโรง ให้โทรบอกใครซักคนนึงให้รู้ว่า เราดูหนังเรื่องอะไร ที่โรงไหน หนังจบประมาณกี่โมง

2. และเมื่อดูจบ ก็โทรบอกคนเดิมว่า ดูเสร็จแล้วนะ ออกมาจากโรงแล้ว

นี่น่าจะเป็นวิธีช่วยให้เราปลอดภัยได้ส่วนนึงนะคะ อย่างน้อยก็ยังมีคนที่สนิทที่ทราบว่าเราอยู่ไหนทำอะไรอยู่ และน่าจะกลับถึงบ้านประมาณกี่โมง ... แต่ถ้าไปเราว่าไปกันหลายๆๆคนอะสนุกกว่า

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552

สลายชุมนุมเสื้อแดง




เมื่อเวลา 04.00 น. (13 เม.ย.) ที่บริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดง เจ้าหน้าที่ทหารได้นำแก๊สน้ำตาพร้อมโล่หลายร้อยนาย เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ที่รวมตัวนำรถแท็กซี่และรถเมล์มาจอดปิดขวางการจราจร โดยเจ้าหน้าที่ทหารได้ระดมยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงเป็นระยะ ทำให้ผู้ชุมนุมต้องถอยร่นออกมาทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บางส่วนพยายามเข้าปะทะเจ้าหน้าที่โดยใช้รถเมล์ รถแท็กซี่ และเผายางรถยนต์ แนวกั้น โดยสถานการณ์ค่อนข้างตึงเครียด

กระทั่งเวลา 05.30 น. สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมถอยร่นเข้าไปอยู่บริเวณแฟลตดินแดง เจ้าหน้าที่ทหารพยายามเกลี้ยกล่อมให้กลุ่มผู้ชุมนุมยอมสลายตัวเพื่อกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่ผู้ชุมนุมบางส่วนได้ขว้างปาขวดน้ำเข้าใส่เจ้าหน้าที่ทหารเป็นระยะ แต่เจ้าหน้าที่ทหาร ไม่ตอบโต้ เนื่องจากท่าทีของผู้ชุมนุมอ่อนลงมาก ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหารสามารถคุมพื้นที่บริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดงแล้ว
ล่าสุด เมื่อเวลา 06.22 น. มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 49 ราย กระจายอยู่ตาม 4 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก โรงพยายาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกฎ และโรงพยาบาลรามาธิบดี


ขณะเดียวกัน หลังการสลายม็อบเสื้อแดง นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ หรือ นปช. ได้ประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมกระจายตัวไปตามจุดต่าง ๆ พร้อมคล้องแขวนตั้งแนวเรียงหน้ากระดาน และให้นำรถยนต์ส่วนตัวไปจอดขวางเป็นหน้าด่าน โดยระบุว่า การสลายม็อบบริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดงไม่เป็นไปตามหลักสากล

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

เที่ยวไทย ไป ตะรุเตา



ประวัติของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2482 เมื่อทัณฑสถานและนิคมฝึกอาชีพบนเกาะตะรุเตาถูกสร้างขึ้นสำเร็จ และประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเป็นที่มาของการขาดแคลนปัจจัยการดำรงชีวิตของทั้งนักโทษและผู้คุม ทั้งสองฝ่ายจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มโจรสลัดที่น่าเกรงขาม แต่หลังจากสงครามกองทัพอังกฤษร่วมกับรัฐบาลไทยได้ร่วมกันปราบปรามได้สำเร็จ ไม่นานทัณฑสถานและนิคมฝึกอาชีพตะรุเตาจึงปิดฉากลง ชาวบ้านใกล้เคียงจึงเข้ามาทำมาหากินเพื่อปลูกข้าว ผลไม้ และยางพารา และในปี พ.ศ.2515 เกาะได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะตะรุเตาค่อยๆ แยกย้ายออกไป ชาวเลชนเผ่าดั้งเดิมของท้องทะเลอันดามันเองก้อได้ย้ายไปยังหาดอื่นๆ ตามปัจจัยทางฤดูกาลและแหล่งอาหาร ปัจจุบันชาวเลส่วนใหญ่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร และกลุ่มย่อยนั้นก้อมีอาศัยอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะเช่นกัน

ภูมิศาสตร์ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วยเกาะต่างๆถึง 51 เกาะ ในทะเลอันดามันตอนล่าง บริเวณรอยต่อระหว่างไทยและมาเลเซีย หมู่เกาะขนาดใหญ่แบ่งย่อยได้ 2กลุ่ม และมีระยะห่างกัน 20 และ 70 กิโลเมตรจากแผ่นดินใหญ่ตามลำดับ เกาะใหญ่ที่สุดคือ เกาะตะรุเตา ซึ่งมีขนาดกว้างและยาว 10และ26 กิโลเมตร ตามลำดับ พื่นที่เกาะส่วนใหญ่ที่เป็นภูเขาครอบคลุมทั้งป่าฝนและป่าโกงกาง นอกจากนี้ยังมีชายหาด และถ้ำต่างๆ ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่เช่นกัน เกาะอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ห่างออกไปจากฝั่ง ซึ่งได้แก่ เกาะหลีเป๊ะ เกาะอาดัง เกาะราวี และเกาะดง เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้คือ เกาะอาดัง และ เกาะราวี เกาะทั้งสองนี้ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าฝน ซึ่งในช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำตกหลายที่บนเกาะอาดัง จะไหลลงสู่ทะเล น้ำทะเลของเกาะหลีเป๊ะ และเกาะใกล้เคียงจะใสมาก และเป็นที่อาศัยของปะการังและสัตว์ทะเลที่หลากหลาย


ภูมิอากาศ ปกติแล้ว ในแถบนี้จะมี 2ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน ฤดูฝนจะเริ่มจากปลายเดือนพฤษภาคม ที่จะมีทั้งมรสุมและคลื่นลมในทะเล ส่วนฤดูร้อนจะเริ่มช่วงต้นพฤศจิกายนเป็นต้นไป อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ระหว่าง 27-30 อาศาเซลเซียส ในช่วงเริ่มต้นของฤดูร้อน (เดือนพฤศจิกายน และ เดือนธันวาคม)ค่อนข้างจะมีอุณหภูมิพอเหมาะกับการท่องเที่ยว ในขณะที่ปลายฤดูร้อน(เดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม)อุณหภูมิจะร้อนขึ้นเล็กน้อย และมีความชื้นสูงตลอดทั้งปีที่(ประมาณ 80-85 เปอร์เซ็นต์