วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Prévention de la transmission du VIH chez les usagers de drogues


L'usage de drogue peut permettre la contamination par le partage de seringues par exemple,


avec au moins une personne infectée mais de plus certaines drogues peuvent avoir en elles-


mêmes une action nocive sur le système immunitaire ; le risque pour la santé peut donc être


double. Là encore, certains prônent l'abstinence tandis que d'autres, jugeant que cette position


n'est pas réaliste, préfèrent mettre à disposition des toxicomanes un matériel stérile ou des


traitements de substitution.


La meilleure façon est bien évidemment d'éviter de consommer des drogues, de quelque sorte


que ce soit. Les drogues comme la cocaïne, l'héroïne, le cannabis, etc, sont des corps toxiques


étrangers. Elles provoquent donc une réponse immunitaire plus ou moins aiguë, dépendant de la


nature de la substance, de sa concentration et de la fréquence à laquelle elle est consommée. Par


exemple, le THC présenterait en particulier des effets immunosuppresseurs sur les


macrophages, les cellules NK et les lymphocytes T[26]. L'ecstacy a également des effets néfastes


sur les cellules CD4+ du système immunitaire[27].


Le partage et la réutilisation de seringues usagées et souillées par du sang contaminé constituent


un risque majeur de contamination par le VIH, mais aussi par les virus des hépatites B et C. En


France, des mesures de réduction des risques ont été mises en place : vente libre de seringues


(depuis 1987), trousses de prévention contenant le matériel nécessaire pour réaliser une


injection à moindre risque, mise en place d'automates de distribution et de récupérateurs de


seringues, offre de traitements de substitution par voie orale.


Le risque d'infection par le virus du sida peut être augmenté lorsque la personne à l'origine de la


contamination est porteur du VIH et d'un virus de l'hépatite (A, B ou C)[réf. nécessaire]. Dans ce


cas très particulier, la surinfection simultanée est même à envisager (voir test VIH).


Pour prévenir ces contaminations, il est essentiel de ne pas partager le matériel d'injection ou


d'inhalation. Ceci comprend les seringues, les cotons, les cuillères et cupules, eau de dilution de la


drogue, mais aussi les pailles et les pipes à crack, surtout si elles sont ébréchées. Le matériel


d'injection doit être à usage unique ou désinfecté à l'eau de Javel domestique en cas de


réutilisation.


L'efficacité de ces mesures reste toutefois controversée : par exemple, certaines études[28] ont


montré qu'à Montréal, ceux qui participent aux programmes « seringues stérilisées » ont


apparemment un taux de transmission plus élevé que ceux qui n'y participent pas. De plus, les


associations de lutte contre la drogue reprochent à ces mesures de rendre la toxicomanie plus


accessible et de ne pas assez insister sur les possibilités de désintoxication. Elles mettent en


avant que résoudre le problème de drogue, résoudrait un des modes de transmission du sida


วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ดอกไม้ ค่ะ ดอกไม้


- une tulip(ตูลีฟ) - ดอกทิวลิปมีหลายสี - un chysanthème (คริซองแตม) - ดอกเบญมาศมีหลายสี เป็น



ดอกไม้วัน Toussaint- une narcisse (นาร์ซีส) - ดอกนาร์ซีสหรือฌงกีย์เป็นดอกไม้สีขาวหรือ une


amaryllis (อมาริสลิส) - ดอกอมาริสลิส บางทีเรียกว่าดอกพลับพลึงแซงค์ฌาค เป็นดอกใหญ่สีแดงกลิ่น


หอม - une jacinthe (ฌาแซงค์) - เป็นดอกไม้สีสวยมีทุกสี ดอกเป็นพุ่ม (fleurs en grappes) กลิ่นหอม


และดอกอยู่ได้นาน มักจะปลูกใส่กระถางไว้หน้าบ้าน - un oeillet (เอยเย่) - ดอกคาร์เนชั่น มีหลายสี un


glaieul (กลาเย่) - ดอกกลาดิโอลัส คล้ายดอกซ่อนกลิ่น มีหลายสี - une rose (โรซ) - ดอกกุหลาบ มี


หลายพันธุ์ หลายสี สวยงามมาก - un lis หรือ lys (ลีส) - ดอกพลับพลึงเป็นดอกไม้สีขาวกลิ่นหอมเป็น


ดอกไม้ประจำชาติของประเทศฝรั่งเศส - une orchidée (ออร์ชิเด้) - ดอกกล้วยไม้ (เป็นสินค้าเข้า) ดอกไม้


อื่นๆใฝรั่งเศสที่ควรรู้จัก - une glycine (กลีซีน) - ไม้เถา ดอกเป็นพวงยาวสีม่วงปนขาวและชมพูอ่อนกลิ่น


หอมเย็น มักจะปลูกบนร้านริมรั้วหรือข้างบ้าน

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การออกแบบพระสุเมรุ


การออกแบบ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งให้ใช้แบบพระเมรุทรงยอดปราสาท มีรูปแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม คล้ายพระเมรุของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีออกแบบโดย นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร

การก่อสร้าง
พระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นกุฎาคารเรือนยอดประธานมณฑล สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระเมรุทรงปราสาทจตุรมุข ย่อมุมไม้สิบสอง ยอดปักพระสัปตปฎลเศวตฉัตร จากฐานถึง ยอดฉัตรสูง ๓๗.๘๕ เมตร กว้าง ๓๑.๘๐ เมตร ยาว ๓๙.๘๐ เมตร สร้างด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็กประดับด้วยกระดาษทองย่นตกแต่งด้วยลวดลาย
ฐานพระเมรุ จัดทำเป็น ๒ ระดับ มีบันไดทอดถึงตลอดทั้ง ๔ ทิศ ระดับแรกเรียกว่า ฐานชาลา ประดับด้วยรูปเทวดานั่งคุกเข่า พระหัตถ์ถือบังแทรกตรงกลางเป็นโคมไฟ ประดับตามพนักฐานชาลา ด้านในมีรูปเทวดา ประทับยืนถือฉัตรเครื่องสูงรายรอบ ระดับที่สองหรือฐานบนเรียกว่า ฐานพระเมรุ เป็นฐานสิงห์ มีบันไดทางขึ้นจากฐานชาลาทั้ง ๔ ทิศ โถงกลางใหญ่ตั้งพระ จิตกาธานขนาดใหญ่สำหรับประดิษฐานพระโกศ เพื่อถวายพระเพลิง ทางด้านทิศเหนือของพระจิตกาธาน มีรางยื่นออกไปนอกมุขเป็นสะพานเกริน เพื่อใช้เป็นที่เคลื่อน พระโกศจากพระยานมาศสามลำคานขึ้นบนพระเมรุ
องค์พระเมรุทั้งด้านในและด้านนอก ประดับตกแต่งด้วยกระดาษทองย่นเกือบทั้งหมด ใช้สีทองเป็นหลักและประกอบด้วยสีอื่นๆ ที่เป็นสีอ่อนหวาน เหมาะกับพระอุปนิสัยและพระจริยวัตรที่นุ่มนวล สง่างาม ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระเมรุได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม
นอกจากนี้กรมศิลปากรยังได้สร้าง ลิฟท์ยกระบบไฮดรอก เป็นลิฟท์ที่ติดตั้งพิเศษอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งติดตั้งอยู่ทั้ง 2 จุด คือ ฐานชาลา และ ฐานพระเมรุ ซึ่งใช้เป็นที่ขึ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและ พระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเข้าสู่พระเมรุภายในพระจิตกาธาน อีกด้วย

การก่อสร้างอาคารประกอบและอุปกรณ์ติดตั้งภายในพระเมรุ
สิ่งก่อสร้างอาคารประกอบ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ภายในมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ได้แก่
พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารโถง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงธรรมและทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุพระศพ รวมทั้งมีที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนคณะทูตานุทูต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ภายในพระที่นั่งทรงธรรม เป็นที่ตั้งอาสนะพระสงฆ์ และธรรมมาสน์ เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงพักพระอิริยาบถ ซึ่งตรงกับมุขด้านหน้าของพระเมรุ มุขเหนือและใต้เป็นที่สำหรับข้าราชการเข้าเฝ้า
หอเปลื้อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวัน ออก ตรงมุขหลังของพระเมรุเป็นอาคารขนาดเล็ก ภายในเขต ราชวัติ หันหน้าเข้าหาพระเมรุ ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย มีฝากั้นโดยรอบ หอเปลื้องเป็นสถานที่สำหรับเก็บพระโกศหลังจากได้เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธานแล้ว และใช้เป็นที่เก็บสัมภาระต่างๆในการพระราชพิธี เช่น ฟืน ดอกไม้จันทน์ ขันน้ำ ซึ่งจะต้องตั้งน้ำสำหรับเลี้ยงเพลิงเวลาเมื่อพระราชทานเพลิง
ซ่าง หรือ สำส้าง เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างขึ้นที่มุมทั้งสี่บนชาลาพระเมรุ ใช้เป็นที่สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ตลอดงานพระเมรุ ตั้งแต่พระโกศพระศพประดิษฐานบนพระจิตกาธาน จนกว่าจะถวายพระเพลิงเสร็จ คือจะมีพระพิธีธรรม ๔ สำรับ นั่งอยู่ประจำซ่างโดยจะผลัดกันสวดทีละซ่างเวียนกันไป
ทับเกษตร ทับเกษตรเป็นอาคารขนาบสองข้างของซ่างตามแนวรั้วราชวัติ เป็นการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมไทย มีลักษณะเป็นระเบียงโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลังคาจั่ว เป็นสถานที่สำหรับข้าราชการที่มาฟังสวดพระอภิธรรมในงานถวายพระเพลิงพระศพ
ศาลาลูกขุนแบบที่ ๑ เป็นอาคารโถงทรงโรง สร้างตรงปลายปีกพระที่นั่งทรงธรรม ทั้งด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการสำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ และข้าในพระองค์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ด้านละ ๑ หลัง
ศาลาลูกขุนแบบที่ ๒ เป็นอาคารโถงทรงโรง สร้างตรงด้านหลังพระที่นั่งทรงธรรม ทั้งด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ใช้เป็นที่เฝ้าของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการสำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ และข้าในพระองค์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในงานถวายพระเพลิงพระศพ ด้านละ ๑ หลัง และ ด้านหลังของทับเกษตรและทิมในแนวรั้วบริเวณขอบเขตรั้วราชวัติ ด้านทิศใต้ ๓ หลัง
ทิม ทิมเป็นอาคารที่ปลูกสร้างติดกับรั้วราชวัติ ใช้เป็นที่พักข้าราชบริพารและผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มีจำนวน ๖ หลัง อยู่ติดกับแนวรั้วราชวัติตรงกับปลายมุขเหนือและใต้ของพระที่นั่งทรงธรรม ด้านทิศตะวันออก ๒ หลัง ตั้งทั้ง ๔ ทิศ ด้านเหนือใต้ด้านละ ๑ หลัง ด้านตะวันตกและตะวันออกด้านละ ๒ หลัง ด้านหน้าเปิดโล่ง หลังคาเป็นลักษณะหลังคาปะรำ (หลังคาแบน) อยู่ระหว่างทับเกษตรมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทับเกษตรมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ และตั้งอยู่ปลายปีกมุขทิศตะวันตกของพระที่นั่งทรงธรรม ๒ หลัง โดยทุกอาคาร หันหน้าเข้าสู่มณฑลพิธี ใช้สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพักและใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมพระศพด้วย