แพทย์ศิริราชเตือนปวดท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง อย่าวางใจ พบคนไทยร้อยละ 60 มีเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ แนะพบแพทย์ตรวจหาเชื้อด้วยวิธีเจาะเลือด เป่าลมหายใจและส่องกล้อง เตือนหลีกเลี่ยงกินเค็ม ของหมักดอง ปลาร้า ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานลั่นฆ้องและกล่าวเปิดประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยเรื่องเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในกระเพาะอาหาร ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 6 จากนั้นได้มอบของที่ระลึกให้ ศ.นพ.แบร์รี มาร์แชลล์ (Barry J. Marshall) จากมหาวิทยาลัยแห่งเวสเทิร์นออสเตรเลีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี 2005 วิทยากรกิตติมศักดิ์ในการประชุมครั้งนี้ โดย ศ.นพ.มาร์แชลล์ ค้นพบว่า แบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร (Helicobacter pylori: HP) อยู่ในกระเพาะอาหารทั้งที่มีสภาพเป็นกรด และเชื้อนี้เป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกระเพาะ ถือเป็นการค้นพบความจริงที่พลิกวงการแพทย์แบบหน้ามือเป็นหลังมือ เนื่องจากเดิมมีความเชื่อว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากกรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเมื่อเกิดความเครียดศ.นพ.มาร์แชลล์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่จะพูดในการประชุมครั้งนี้ คือ วิทยาการใหม่ ๆ ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะตัวใหม่ ทั้งนี้การศึกษาพบว่า สายพันธุ์ที่พบในประเทศญี่ปุ่นถือว่ามีความรุนแรงที่สุดในโลก ทำให้คนญี่ปุ่นมีอัตราการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารสูง แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น คนญี่ปุ่นอายุยืน ชอบกินอาหารหมักดอง ขณะที่คนไทยก็ติดเชื้อแบคทีเรียนี้สูงแต่พบว่า มีอัตราเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยกว่า ตรงนี้น่าสนใจทำการศึกษา สำหรับการพัฒนาวัคซีนป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร ตนทราบว่ามี 4 บริษัทกำลังศึกษาอยู่ แต่ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก คาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าน่าจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น รศ.นพ.อุดม คชินทร หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ เป็นเชื้อที่พบในเยื่อบุกระเพาะอาหาร คาดว่า ทั่วโลกมีคนติดเชื้อนี้กว่า 3,000 ล้านคนจากประชากรโลกกว่า 6,000 ล้านคน สำหรับในประเทศไทยในคนที่ปวดท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหารมีเชื้อแบคทีเรียนี้ถึงร้อยละ 60 ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องเรื้อรัง น้ำหนักลด ซีด ถ่ายดำ คลื่นไส้อาเจียน เลือดออกทางทวารหนักควรรีบตรวจหาแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ ซึ่งปัจจุบันตรวจได้ด้วยการเจาะเลือด การส่องกล้องในกระเพาะอาหาร การตรวจลมหายใจด้วยเครื่องมือพิเศษ ซึ่งการตรวจทางลมหายใจมีความสะดวกโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในประเทศไทยตรวจได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายสูงครั้งละ 2,000 บาท“ควรเลี่ยงการกินอาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารที่ผ่านการแปรรูปในไนเตรท ดินประสิว ยิ่งหากมียีนผิดปกติร่วมด้วยจะทำให้เป็นมะเร็งได้ง่าย เชื้อนี้มีมากที่สุดในโลก แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นมะเร็ง มีคนส่วนน้อยที่เป็นมะเร็งต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ ติดเชื้อสายพันธุ์ที่รุนแรง พฤติกรรมการกินอาหารเค็มของหมักดอง มียีนที่ไวต่อการเป็นมะเร็ง” รศ.นพ.อุดม กล่าว และว่าการรักษาที่ได้ผลคือ การให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารและยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด คือ Clarithromycin และ amoxicillin ควบคู่กัน เป็นเวลา 7 วัน สามารถกำจัดเชื้อได้ร้อยละ 85-90 อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่ปวดท้องรุนแรง เป็นเรื้อรัง ควรพบแพทย์ตรวจร่างกาย ไม่ควรซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะกินเอง เพราะเสี่ยงต่อเชื้อโรคดื้อยา มีผลต่อการรักษาโรคติดเชื้อในอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพ้ยาถึงขึ้นเสียชีวิต
วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
แพทย์พบโรคกระเพาะอาหารต้นเหตุจากแบคทีเรีย
แพทย์ศิริราชเตือนปวดท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง อย่าวางใจ พบคนไทยร้อยละ 60 มีเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ แนะพบแพทย์ตรวจหาเชื้อด้วยวิธีเจาะเลือด เป่าลมหายใจและส่องกล้อง เตือนหลีกเลี่ยงกินเค็ม ของหมักดอง ปลาร้า ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานลั่นฆ้องและกล่าวเปิดประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยเรื่องเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในกระเพาะอาหาร ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 6 จากนั้นได้มอบของที่ระลึกให้ ศ.นพ.แบร์รี มาร์แชลล์ (Barry J. Marshall) จากมหาวิทยาลัยแห่งเวสเทิร์นออสเตรเลีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี 2005 วิทยากรกิตติมศักดิ์ในการประชุมครั้งนี้ โดย ศ.นพ.มาร์แชลล์ ค้นพบว่า แบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร (Helicobacter pylori: HP) อยู่ในกระเพาะอาหารทั้งที่มีสภาพเป็นกรด และเชื้อนี้เป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกระเพาะ ถือเป็นการค้นพบความจริงที่พลิกวงการแพทย์แบบหน้ามือเป็นหลังมือ เนื่องจากเดิมมีความเชื่อว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากกรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเมื่อเกิดความเครียดศ.นพ.มาร์แชลล์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่จะพูดในการประชุมครั้งนี้ คือ วิทยาการใหม่ ๆ ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะตัวใหม่ ทั้งนี้การศึกษาพบว่า สายพันธุ์ที่พบในประเทศญี่ปุ่นถือว่ามีความรุนแรงที่สุดในโลก ทำให้คนญี่ปุ่นมีอัตราการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารสูง แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น คนญี่ปุ่นอายุยืน ชอบกินอาหารหมักดอง ขณะที่คนไทยก็ติดเชื้อแบคทีเรียนี้สูงแต่พบว่า มีอัตราเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยกว่า ตรงนี้น่าสนใจทำการศึกษา สำหรับการพัฒนาวัคซีนป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร ตนทราบว่ามี 4 บริษัทกำลังศึกษาอยู่ แต่ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก คาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าน่าจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น รศ.นพ.อุดม คชินทร หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ เป็นเชื้อที่พบในเยื่อบุกระเพาะอาหาร คาดว่า ทั่วโลกมีคนติดเชื้อนี้กว่า 3,000 ล้านคนจากประชากรโลกกว่า 6,000 ล้านคน สำหรับในประเทศไทยในคนที่ปวดท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหารมีเชื้อแบคทีเรียนี้ถึงร้อยละ 60 ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องเรื้อรัง น้ำหนักลด ซีด ถ่ายดำ คลื่นไส้อาเจียน เลือดออกทางทวารหนักควรรีบตรวจหาแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ฯ ซึ่งปัจจุบันตรวจได้ด้วยการเจาะเลือด การส่องกล้องในกระเพาะอาหาร การตรวจลมหายใจด้วยเครื่องมือพิเศษ ซึ่งการตรวจทางลมหายใจมีความสะดวกโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในประเทศไทยตรวจได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายสูงครั้งละ 2,000 บาท“ควรเลี่ยงการกินอาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารที่ผ่านการแปรรูปในไนเตรท ดินประสิว ยิ่งหากมียีนผิดปกติร่วมด้วยจะทำให้เป็นมะเร็งได้ง่าย เชื้อนี้มีมากที่สุดในโลก แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นมะเร็ง มีคนส่วนน้อยที่เป็นมะเร็งต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ ติดเชื้อสายพันธุ์ที่รุนแรง พฤติกรรมการกินอาหารเค็มของหมักดอง มียีนที่ไวต่อการเป็นมะเร็ง” รศ.นพ.อุดม กล่าว และว่าการรักษาที่ได้ผลคือ การให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารและยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด คือ Clarithromycin และ amoxicillin ควบคู่กัน เป็นเวลา 7 วัน สามารถกำจัดเชื้อได้ร้อยละ 85-90 อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่ปวดท้องรุนแรง เป็นเรื้อรัง ควรพบแพทย์ตรวจร่างกาย ไม่ควรซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะกินเอง เพราะเสี่ยงต่อเชื้อโรคดื้อยา มีผลต่อการรักษาโรคติดเชื้อในอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพ้ยาถึงขึ้นเสียชีวิต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น